สมัครสมาชิก
เข้าระบบ
ค้นหา

ยุทธศาสตร์


ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน ฉบับที่ 2

ยุทธศาสตร์ที่ 1  พัฒนาระบบและกลไกการบริหารสุขศาลาพระราชทานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพบุคลากร

 

ตัวชี้วัดการดำเนินงาน

ระดับผลผลิต : ร้อยละของสุขศาลาพระราชทานที่มีการพัฒนาคุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60)

ระดับเป้าหมายการให้บริการ : ร้อยละของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบสุขศาลาฯ สามารถจัดการสุขภาพได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด(ร้อยละ50)

 

แนวทางการพัฒนา

พัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์ 5 หมวด

  1. วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน การจัดโครงสร้างองค์กร
  2. การจัดการ และการพัฒนาบุคลากร
  3. คู่มือและวิธีการปฏิบัติงาน
  4. เครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อม ในการดูแลผู้ป่วย
  5. กระบวนการดูแลผู้ป่วย

ปี 62  เพิ่มเกณฑ์คุณภาพ  หมวดที่ 6 กระบวนการและผลการดำเนินงาน สุขภาพภาคประชาชนและพฤติกรรมสุขภาพ

กิจกรรม:

  1. ให้บริการสุขภาพแก่นักเรียน และประชาชน
  2. พัฒนาศักยภาพ อสม. และ แกนนำชุมชน
  3. จัดกิจกรรมแก้ไขปัญหา ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
  4. มุมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ
  5. พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่  ครูพยาบาล(รักษา/ส่งต่อ)

 

ผลลัพธ์
  1. ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานแห่งรัฐด้านการแพทย์และสาธารณสุข
  2. สร้างความมั่นคงด้านสังคมโดยใช้การให้บริการด้านสุขภาพเป็นกลไกสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  3. สร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ลดความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่