สุขศาลาพระราชทาน
เลขที่ 88/44 หมู่ 4 ซอยสาธารณสุข 8 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000
อีเมล์ติดต่อ : suksalamail@gmail.com
1.สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 1.1) สถานที่ตั้ง สุขศาลาพระราชทานบ้านห้วยกุ๊กตั้งอยู่ภายในศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยกุ๊กหมู่บ้านห้วยกุ๊ก หมู่ที่ 20 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เป็นสุขศาลาพระราชทานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนติดประเทศลาว อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย 1.2) สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีดอยยาวและดอยผาหม่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำที่ทอดตัวยาวตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ ตั้งชุมชนอยู่ตรงบริเวณพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขา ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านห้วยปอ หมู่ที่ 17 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ ติดต่อ บ้านหนอง หมู่ที่ 14 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออก ติดต่อ ประเทศลาวเกลือ ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านเจดีย์ทอง หมู่ที่ 3 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 1.3) สภาพภูมิอากาศ บ้านห้วยกุ๊กมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้งแต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ปริมาณน้าฝน โดยเฉลี่ย 1,981 มิลลิเมตร/ปี ฝนตกเฉลี่ย 140 วัน/ปี ฝนตกชุกมากในเดือนสิงหาคม เฉลี่ยประมาณ 429 มิลิเมตร/ปี สภาวะฝนทิ้งช่วงจะอยู่ในเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม ส่วนในฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุดบนยอดดอย ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส 1.4) พิกัดใน Google map 19°58'39.4"N 100°30'38.7"E 2.การคมนาคม 2.1) การเดินทาง การเดินทางจากศาลากลางจังหวัดเชียงรายมุ่งหน้าไปตามถนนหมายเลข 1152 เข้าสู่อำเภอเวียงแก่นตามถนนหมายเลข 1020 เข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1155 จนถึงองค์การบริหารส่วนตำบลปอ และเข้าไปตามเส้นทางหมู่ถนนเข้าหมู่บ้านห้วยกุ๊กด้านข้างองค์การบริหารส่วนตำบลปอ จนถึงสุขศาลาพระราชทานศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยกุ๊ก รวมระยะทางประมาณ 113 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที 2.2) สภาพเส้นทาง เส้นทางจากตัวจังหวัดเป็นถนนลาดยาง 107 กิโลเมตร เป็นทางคอนกรีต 5 กิโลเมตร ทางลูกรังอีก 1 กิโลเมตร เส้นทางช่วงเข้าอำเภอเวียงแก่นมีความขดเคี้ยวไปตามเทือกเขาอยู่บ้าง และช่วงก่อนถึงหมู่บ้านห้วยกุ๊กซึ่งเป็นทางคอนกรีตและลูกรังแคบและชันมาก ต้องระมัดระวังในการเดินทางเป็นอย่างมาก สภาพเส้นทางโดยรวมสามารถเดินทางเข้า-ออก ได้ทุกฤดูกาล (2.2.1) ฤดูแล้ง ถนนลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่นและทางต่างระดับ (2.2.2) ฤดูฝน เส้นทางขึ้น-ลง ตั้งแต่ทางคอนกรีตและทางลูกรังจนถึงบ้านห้วยกุ๊ก ทางชันและทางแคบมากต้องระมัดระวังเรื่องถนนลื่นและรถสวนระหว่างทางลาดชัน ทางลูกรังจะเป็นโคลน ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ในการเดินทาง 3.ระบบสาธารณูปโภคและโทรคมนาคม 3.1) ระบบไฟฟ้า ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าของการส่วนภูมิภาค ซึ่งสามารถตั้งเสาและเดินสายส่งให้ได้ เนื่องจากระยะทางไม่ไกลจากถนนสายหลักและชุมชนมากนัก 3.2) ระบบน้ำดื่ม/น้ำใช้ ใช้น้ำประปาภูเขา สูบเก็บไว้ในถังเก็บน้ำ 3.3) ระบบอินเตอร์เน็ต ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ออฟติค (TOT wifi) 3.4) ระบบโทรศัพท์สามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบ 3.5) การใช้งานระบบ Telemedicine ระราชทานบ้านห้วยกุ๊ก ได้รับคอมพิวเตอร์และกล้องเว็บแคมเพื่อใช้งานระบบเทเลเมดิซีนผ่านโปรแกรมและระบบทางอินเตอร์เน็ตที่ทางบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการติดตั้งและออกแบบไว้โดยสามารถใช้งานในการสื่อสารเพื่อการรักษาทางการแพทย์ไปยัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอ และโรงพยาบาลเวียงแก่น แต่ในปัจจุบันการใช้งานลดน้อยลงเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานใช้งานทางโปรแกรมไลน์และโทรศัพท์ สะดวกและรวดเร็วกว่า 4.สภาพชุมชน บ้านห้วยกุ๊ก เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณภูเขาสูง ประชากรตั้งบ้านเรือนตามพื้นที่ลาดเอียงตามไหล่เขา ปัจจุบันอยู่ในการบริหารการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลปอ ราษฎร์ส่วนใหญ่เป็นชาวเผาม้ง นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และผีบรรพบุรุษ ใช้ภาษาม้งเป็นภาษาท้องถิ่นและเป็นภาษาพูดในการติดต่อสื่อสารและภาษาไทยบางส่วน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น อาชีพทำไร่ ข้าว, ข้าวโพด, ขิง, หอมญี่ปุ่น มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 12,000 บาท/ครัวเรือน/ปี ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาและมีฐานะยากจน 5.การให้บริการของสุขศาลาพระราชทาน 5.1 การใบริการ สุขศาลาพระราชทานศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยกุ๊ก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558 มีครูพยาบาลตำรวจตระเวนชายแดนประจำสุขศาลาพระราชทานและเจ้าหน้าที่ประจำสุขศาลาพระราชทานห้บริการ มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยโดยปกติใช้ทางรถยนต์เป็นหลักเนื่องจากอยู่ไม่ไกลหน่วยบริการสาธารณสุข และ การเดินทางค่อนข้างสะดวกมีระบบการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์อย่างเพียงพอ ซึ่งได้รับมาจาก 3 ส่วน คือ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และจากการบริจาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้และสื่อสารสุขภาพทั้งทางสื่อเอกสาร โมเดลจำลอง ให้นักเรียนและประชาชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และทันเหตุการณ์ โดยมีการให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้ - ด้านการรักษาพยาบาล ได้ดำเนินการการตรวจรักษา การเบิกจ่ายยา การทำแผล - งานโภชนาการและพัฒนาการเด็ก เช่น ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงให้นักเรียนและคัดกรองภาวะ โภชนาการเด็ก 0-๕ ปี - งานส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก เช่น ติดตามเยี่ยมหลังคลอด แนะนำหญิงตั้งครรภ์ให้ฝากครรภ์ทุกคน - งานวางแผนครอบครัว เช่น จ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด, ติดตามพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 3 ปี - งานทันตสาธารณสุข เช่น ให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี - งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น ดูแลความสะอาดทั้งในและนอกอาคารสุขศาลาส่งเสริมการคัดแยกขยะ, ส่งเสริมการล้างมืออย่างถูกวิธี - งานผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น ติดตามเยี่ยมบ้านให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ - เครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.ปอ เป็นพี่เลี้ยง และ รพ.เวียงแก่น โรคอันดับแรกที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัดและปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจาก ฤดูหนาว อากาศค่อนข้างเย็นมากและฤดูร้อนลมแรงและมีฝุ่น หมอกควันจำนวนมาก ส่วนโรคปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ โดยมีหมู่บ้านที่อยู่ในการให้บริการ จำนวน 3 แห่ง รวมกว่า 520 หลังคาเรือน ดังนี้ - บ้านห้วยกุ๊ก จำนวน 96 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 345 คน - บ้านหนอง จำนวน 39 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 250 คน - บ้านห้วยปอ จำนวน 67 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 312 คน 5.2 ลักษณะอาคารบริการ เป็นอาคารปูนชั้นเดียวแยกตัวเป็นอาคารอิสระจากอาคารเรียนของศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยกุ๊ก อาคารเป็นรูปทรงตัวที ภายในตัวห้องแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ โซนตรวจรักษา โซนพักฟื้น โดยมีผนังฉากกั้นแบ่งตัวห้องไว้ ส่วนห้องน้ำอยู่บริเวณด้านหลังอาคาร ในส่วนของบริเวณด้านหน้าอาคารมีการจัดทำที่นั่งรอสำหรับผู้มารับบริการได้อยากเหมาะสม พิกัด : 19.977611, 100.510895 |