สมัครสมาชิก
เข้าระบบ
ค้นหา

ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล (บ้านคลิตี้ล่าง)


บ้านคลิตี้ล่าง หมู่ที่ 4 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 1. ประวัติความเป็นมา คำว่า “คลิตี้” เป็นคำในภาษากะเหรี่ยง แปลว่า “เสือโทน” เมื่อประมาณปี พ.ศ.2464 ได้มีนายองเมี๊ยะ ไม่มีนามสกุล ชายไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง จากหมู่บ้าน องหลุ หมู่ 3 ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และญาติพี่น้อง จำนวน 3 ครอบครัว ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทำไร่ ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขาและมีลำห้วยคลิตี้ไหลผ่าน ทำให้เอื้อต่อการทำการเกษตร ในเวลาต่อมาญาติพี่น้องชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง จากพื้นที่ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จึงได้พาครอบครัวอพยพกันเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มเติม เพื่อทำมาหากินในพื้นที่บ้านคลิตี้ล่างจนเกิดเป็นชุมชนมาถึงปัจจุบัน อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านทุ่งเสือโทน หมู่ 4 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู และ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านองหลุ หมู่ 3 ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู 2. การคมนาคม เส้นทางเข้า – ออก หมู่บ้าน คือ 2.1. จากหมู่บ้านคลิตี้ล่างถึงอำเภอทองผาภูมิ 85 กิโลเมตร เส้นทางดินอัดแน่น(ลูกรัง) 28 กิโลเมตร คอนกรีตและทางลาดยาง 57 กิโลเมตร( ใช้เวลาประมาณ 2 ชม.) จากอำเภอทองผาภูมิถึงศาลากลางจังหวัด เส้นทางจากศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตามถนนสายหมายเลข 323 จำนวนระยะทาง 130 กิโลเมตร (ใช้เวลา 2 ชั่วโมง) ระยะทางจากหมู่บ้านถึงศาลากลางจังหวัด 215 กิโลเมตร ถนนลาดยาง 187 กิโลเมตร ถนนลูกรัง 28กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 3. จำนวนประชากร / ครัวเรือน 3.1 จำนวนประชากร 448 คน ชาย 232 คน หญิง 216 คน 3.2 จำนวนครัวเรือน 136 ครัวเรือน 4. ศาสนา / ภาษาที่ใช้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ/คลิสต์ ภาษาท้องถิ่น ภาษากะเหรี่ยง ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ภาษาไทย ภาษากระเหรี่ยง 5. การประกอบอาชีพ / รายได้เฉลี่ย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รายได้เฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 35,000 บาท/ปี 6. การบริการของรัฐ สถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระยะทางห่างจากหมู่บ้าน 12 กิโลเมตร โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่ใกล้ที่สุด คือ โรงเรียนบ้านทุ่งเสือโทน ระยะทางห่างจากหมู่บ้าน 12 กิโลเมตร 7. ผู้นำหมู่บ้าน 7.1 กำนันตำบลชะแล นายถนัด เณรจาที 7.2 ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 นายนิติพล ตันติวานิช 8. ปัญหาและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน 8.1. ที่ดินทำกินไม่มีเอกสารสิทธิ์ (เป็นที่ดินที่กรมป่าไม้ทำเอ็มโอยูร่วมกับชุมชนกั้นแนวเขตเส้นสีขาวกันพื้นที่ทำกินในเส้นสีขาวจำนวน 5,000ไร่) 8.2. น้ำในลำห้วยคลิตี้ที่ไหลผ่านหมู่บ้านได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ตะกั่ว ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้อุปโภค-บริโภคได้รวมทั้งไม่สามารถบริโภคสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในลำห้วยได้ 8.3. การเดินทางไปรับบริการจากสถานพยาบาลของรัฐ ไม่ได้รับความสะดวกเนื่องจากระยะทางไกล 8.4. การขอตั้งหมู่บ้านแยกใหม่ ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ อยู่ระหว่างรอการอนุมัติของจังหวัดกาญจนบุรี การปกครองในหมู่บ้านยังพัฒนาไม่ต่อเนื่อง 8.5. ที่ทำกินส่วนใหญ่ถูกอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ประกาศทับเป็นเขตอุทยาน

พิกัด :