สมัครสมาชิก
เข้าระบบ
ค้นหา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ (บ้านแสนคำลือ)


1.สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

                1.1) สถานที่ตั้ง สุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ตั้งอยู่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ บ้านแสนคำลือ หมู่ 2 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน    

                1.2) สภาพทางภูมิศาสตร์ ตัวสุขศาลาพระราชทานตั้งอยู่ในที่ลาดเขา เนื่องจากในเขตพื้นที่บ้านแสนคำลือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบเชิงเขาสำหรับสร้างที่พักอาศัยและพื้นที่ทำการเกษตรกรรมอยู่บ้าง มีแม่น้ำสายหลัก 1 สายไหลผ่านกลางหมู่บ้าน คือ แม่น้ำลาง ซึ่งในฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก แม่น้ำสายนี้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและไหลแรง บางปีส่งผลให้พื้นที่ทำการเกษตรได้รับความเสียหาย บ้านแสนคาลือตั้งอยู่ระหว่างแนวรอยต่อระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ก    

                ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศพม่า

                ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

                ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านแอลา, บ้านเมืองแพม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

                ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหัวลาง, บ้านห้วยแห้ง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน    

                1.3) สภาพภูมิอากาศ บ้านแสนคำลือมีสภาพพื้นที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาสูง และปกคลุมด้วยป่าไม้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ไม่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล ซึ่งทำให้สภาวะอากาศแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆมาก โดยเฉพาะฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัดประมาณเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม สำหรับฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัดเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม อาจลดต่ำได้กว่า 0 องศาเซลเซียส สำหรับฤดูฝนจะเริ่มตกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี

                1.4) พิกัดใน Google map 19.629839, 98.304934    

2.การคมนาคม

                2.1) การเดินทาง จากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน มุ่งหน้าไปตามถนนหมายเลข 1095 ถึงสามแยกเลี้ยงไปตามเส้นทางหมายเลข 1226 ผ่านบ้านจ่าโบ่ บ้านแม่ละนา บ้านผาเจริญ บ้านยาปาแหน บ้านห้วยแห้ง บ้านแอโก๋ และปลายทางบ้านแสนคำลือ ระยะทาง 92 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง 80 กิโลเมตร ถนนคอนกรีต 8 กิโลเมตร และทางลูกรังอีก 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 30 นาที

                2.2) สภาพเส้นทาง เส้นทางจากที่ว่าการอำเภอปางมะผ้าถึงสุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ (บ้านแสนคำลือ) เป็นถนนคอนกรีต 18 กิโลเมตร และถนนลูกรังอีก 5 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบและคดเขี้ยวไปตามภูเขาและหน้าผาสูงชัน เส้นทางจะผ่านเข้าตัวหมู่บ้านหลายแห่ง ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก

                (2.2.1) ฤดูแล้ง ถนนลูกรังดินแดง มีฝุ่นมาก ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่นที่ทำให้บดบังทัศนวิสัยในการเดินทาง

                (2.2.2) ฤดูฝนถนนบางช่วงเป็นดินแดง ลื่น ทำให้เกิดการคมนาคมและการขนส่งยังค่อนข้างลำบาก เส้นทางหลายช่วงของถนนเป็นลักษณะที่ลาดชันและเป็นเหว จึงอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

3.ระบบสาธารณูปโภคและโทรคมนาคม

                3.1) ระบบไฟฟ้า ใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานน้า และระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell)

                3.2) ระบบน้ำดื่ม/น้ำใช้ ใช้น้ำประปาภูเขา สูบเก็บไว้ในถังเก็บน้ำ

                3.3) ระบบอินเตอร์เน็ต ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ TOT

               3.4) ระบบโทรศัพท์ สามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือของเครือข่าย AIS ในพื้นที่ได้

               3.5) การใช้งานระบบ Telemedicine สุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ (บ้านแสนคำลือ) ได้รับการติดตั้งชุดคอมพิวเตอร์และกล้องเว็บแคมเพื่อใช้งานระบบเทเลเมดิซีน ผ่านโปรแกรมและระบบอินเทอร์เน็ตที่ทางบริษัท ทีโอที จากัด (มหาชน) ได้ดำเนินการติดตั้งและออกแบบไว้ โดยสามารถใช้งานในการสื่อสารเพื่อการรักษาทางการแพทย์ไปยังโรงพยาบาลปางมะผ้าได้ โดยใช้ปรึกษาและขอคำแนะนำด้านการปฐมพยาบาล การรักษาผู้ป่วยจากแพทย์ของโรงพยาบาลพี่ ซึ่งการใช้งานขึ้นอยู่กับสัญญาณอินเทอร์เน็ตในช่วงขณะนั้น ในปัจจุบันการใช้งานระบบเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานใช้งานทางโปรแกรมไลน์จะสะดวกและรวดเร็วกว่า

4.สภาพชุมชน

               บ้านแอโก๋-แสนคาลือ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ตามเชิงเขาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า คำว่าแอโก๋ มาจากชื่อของ นายแอโก๋ ไพรประดิษฐ์ผล ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านแอโก๋ ประชากรส่วนใหญ่เชื้อชาติลาหู่ สัญชาติไทย อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม ใช้ภาษาลาหู่ (มูเซอแดง) ในการสื่อสารเป็นหลัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับการศึกษา มีฐานะความเป็นอยู่ยากจน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ นับถือศาสนาพุทธและผีตามความเชื่อของบรรพบุรุษของลาหู่ (มูเซอแดง) และบางกลุ่มนับถือศาสนาคริสต์ การประกอบอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ ได้แก่ การทำไร่ข้าว ปลูกข้าวโพดและเลี้ยงสัตว์

               หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น ณ หมู่บ้านแอโก๋-แสนคำลือ ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2513 พ่อเฒ่าชาวเขาเผ่ามูเซอแดงหรือเผ่าลาหู่คนหนึ่ง ชื่อพ่อเฒ่าแสนคำลือ หรือนายแสนคำลือ สิทธิพรคำลือ อดีตผู้ใหญ่บ้านแอโก๋แสนคำลือ ขณะนั้นอายุ 70 ปี ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปประทับที่บ้านของตนเอง โดยได้ให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นประทับบนหลังเพื่อไม่ให้ทรงลำบากที่ทรงพระราชดำเนินไปบนดอยในถิ่นทุรกันดาร โดยมีพระราชินีตบพระหัตถ์เชียร์ และได้นำน้ำจัณฑ์มาถวาย โดยเป็นสูตรพิเศษที่เล่ากันว่าใส่เขากวางอ่อน ใส่พริกไทย 3 เม็ด กระดูกเสือไปด้วยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์ได้ตรัสว่าถ้าพ่อเฒ่าแสนคำลือดื่มได้พระองค์ท่านก็เสวยได้ จากนั้นก็ยกชูแก้วขึ้นดื่มไปพร้อมกัน กลายเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันรุ่นสู่รุ่นด้วยความปิติและอิ่มเอมใจ

5.การให้บริการของสุขศาลาพระราชทาน

               5.1 การใบริการ สุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ (บ้านแสนคำลือ) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 มีเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ ประกอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปางมะผ้า โรงพยาบาลปางมะผ้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้าลอด และอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนประจำหมู่บ้านในพื้นที่ โดยให้บริการในปัจจุบันด้านต่างๆ ดังนี้

               - ด้านการรักษาพยาบาล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเบิกจ่ายยา และการส่งต่อผู้ป่วย

                - งานโภชนาการและพัฒนาการเด็ก เช่น ชั่งน้าหนักวัดส่วนสูงให้นักเรียนและคัดกรองภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี

               - งานอนามัยแม่และเด็ก เช่น ติดตามเยี่ยมหลังคลอด แนะนาหญิงตั้งครรภ์ให้ฝากครรภ์ตามนัด

               - งานวางแผนครอบครัว เช่น จ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด

               - งานทันตสาธารณสุข เช่น ให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี

               - งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น ดูแลความสะอาดทั้งในและนอกอาคารสุขศาลาส่งเสริมการคัดแยกขยะ

               - งานผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น ติดตามเยี่ยมบ้านให้ความรู้

               โรคอันดับแรกที่พบบ่อย คือ โรคทางเดินหายใจ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง มีอากาศชื้นและหนาวเย็นตลอดทั้งปี รวมทั้งปัญหาเรื่องฝุ่นควันจากไฟป่า โดยมีหมู่บ้านที่อยู่ในการให้บริการ จำนวน 1 แห่ง คือ บ้านแอโก๋-แสนคำลือ มีจำนวนประชากร 685 คน แยกเป็นชาย จำนวน 346 คน และหญิง จำนวน 339 คน จำนวนหลังคาเรือน 144 หลังคาเรือน

               5.2 ลักษณะอาคารบริการ อาคารให้บริการเป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ ลักษณะอาคารเป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนเป็นที่พักอาศัย ชั้นล่างแบ่งแยกเป็นโซนดังนี้ โซนให้บริการตรวจรักษาคนไข้ โซนห้องเก็บยาและเวชภัณฑ์ โซนห้องตรวจครรภ์ที่นอนพักรอสังเกตอาการและมุมความรู้สุขภาพ โดยอาคารมีพื้นที่ใช้งานไม่มากนัก

พิกัด : 19.629839, 98.304934